ประวัติศาสตร์ วันลอยกระทง

หัวข้อ

ประวัติศาสตร์ วันลอยกระทง

ประวัติศาสตร์ วันลอยกระทง ประเพณีลอยกระทงปี 2565 จะถือเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี ที่ชาวไทยจะได้เฉลิมฉลองประเพณีลอยกระทง แบบเกือบไร้มาตรการยับยั้งโควิด-19 คาด มีประชาชนออกไปลอยกระทงกันเป็นจำนวนมากกว่าปี 2564 ซึ่งยังถือว่าเงียบเหงารัฐบาลคาดการณ์ว่า จะมีประชาชนออกไปร่วมงานเป็นจำนวนมากกว่าปีที่แล้ว ประวัติลอยกระทงย่อ เพราะสถานการณ์โควิดคลี่คลายลงไปมาก โดย น.ส. ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุว่า นายกรัฐมนตรียินดีที่ปีนี้ประชาชนจะได้กลับมาร่วมกันสืบสานประเพณีสำคัญของประเทศ และมีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวและกิจกรรมทางเศรษฐกิจมาตรการที่นายกรัฐมนตรีเน้นย้ำ ภายใต้แนวคิด “ลอยกระทงวิถีใหม่ สืบสานประเพณีไทย สู่ความยั่งยืน” มีดังนี้

 

วิถีใหม่ ของประเพณีเก่า ประวัติศาสตร์ วันลอยกระทง 

 

ประวัติศาสตร์ วันลอยกระทง การลอยกระทงแบบ “วิถีใหม่” ตามแนวทางของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา เริ่มเมื่อปี 2564 ภายใต้แนวทางและมาตรการการจัดประเพณีลอยกระทงที่นายกฯ พูดถึงว่าผู้จัดต้องมีมาตรการ เช่น คัดกรองผู้เข้าร่วมงาน จัดพื้นที่เว้นระยะห่างทางสังคม ทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัสก่อนและหลังการจัดงาน และทุกคนจะต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาเข้าร่วมงาน ขณะเดียวกัน ต้องคำนึงถึงมาตรการด้านความปลอดภัยภายในงาน โดยห้ามปล่อยโคมลอย งดเล่นดอกไม้เพลิง พลุ ประทัด และรณรงค์ลอยกระทงปลอดเหล้า เพี่อให้ความมั่นใจกับประชาชนที่มาร่วมงานนับเป็นอีกครั้งที่ประเพณีเก่าแก่ดั้งเดิมของไทยต้องปรับสู่ “วิถีใหม่” ประเพณีลอยกระทง เพื่อให้เข้ากับบริบทสังคมและสถานการณ์ในแต่ละปี ซึ่ง ผศ.คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง อาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เคยให้ความเห็นเมื่อปี 2564 ว่า การปรับตัวของประเพณีต่าง ๆ รวมถึงประเพณีลอยกระทงเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ไม่เพียงแต่การปรับตัวตามสถานการณ์และสภาพแวดล้อมในแต่ละช่วง หากยังปรับเปลี่ยนไปตามความคิดต่อ “ความเป็นไทย” ที่เปลี่ยนไปด้วยผศ.คมกฤช อธิบายว่า ทุก ๆ ประเพณีใหญ่ของไทยมีการเปลี่ยนแปลงมาตลอด ตามเงื่อนไขและบริบทในช่วงเวลานั้น อย่างกรณีของประเพณีสงกรานต์ ที่แต่เดิมการสาดน้ำไม่ได้เป็นแกนหลักของประเพณี แต่ในยุคปัจจุบันความสนุกสนานจากการสาดน้ำกลับถูกให้ความสำคัญมากที่สุดสำหรับประเพณีลอยกระทงที่หลายคนอาจไม่ได้ให้ความสำคัญเพราะไม่ได้ยึดโยงกับความเชื่อเรื่องพระแม่คงคา อีกหลายคนเลือกที่จะไม่ลอยกระทงเพราะไม่อยากเพิ่มขยะในแม่น้ำลำคลอง หรือในยุคโรคระบาดที่ผู้คนหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่มีผู้คนพลุกพล่าน แต่ ผศ.คมกริชก็เชื่อว่าลอยกระทงจะไม่หายไปง่าย ๆ เพราะเศรษฐกิจที่ต้องอาศัยการท่องเที่ยวจะสนับสนุนให้เทศกาลงานประเพณีหล่านี้ดำรงอยู่ต่อไป แต่ด้วยรูปแบบและจุดประสงค์ที่เปลี่ยนไปการปรับเป็นเรื่องบันเทิงเลย ก็อาจจะสูญเสียคุณค่าบางอย่างต่อชุมชน บางประเพณีมีคุณค่าในมิติจิตใจชุมชน แต่ไม่ใช่ทำไม่ได้ สุดท้ายต้องหาจุดลงตัวของการแสวงหาคุณค่าที่แท้จรองของประเพณี กับเรื่องของความบันเทิงประเพณีไม่หายไปหรอกแต่มันเปลี่ยน” นักวิชาการผู้สังเกตการณ์ความเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมประเพณีไทยกล่าว

 

ประวัติวันลอยกระทง

 

หนังสือเรื่องลอยกระทงที่จัดพิมพ์โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ให้ข้อมูลว่า ลอยกระทงเป็นพิธีเพื่อขอขมาต่อธรรมชาติ ซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องกับ “ผี” โดยไม่ได้มีหลักฐานชัดเจนว่าเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่เมื่อไรเมื่อชีวิตผู้คนต่างอยู่รอดโดยพึ่งพาน้ำและดินมาแต่อดีต ดังนั้นผีน้ำและผีดิน ซึ่งต่อมาถูกเรียกว่า “แม่พระคงคา”และ “แม่พระธรณี” จึงได้รับการจัดพิธีขอขมาจากชาวบ้านที่อาจล่วงเกินไปเมื่อใกล้สิ้นสุดปีนั้น ๆ ทำให้วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ กลางเดือน 12 ซึ่งเป็นช่วงที่น้ำขึ้นสูงสุด และถือเป็นการสิ้นสุดปีนักษัตรเก่า ถูกเลือกเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดต่อมาเมื่อดินแดนแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เริ่มรับอิทธิพลของศาสนาพุทธ-พราหณ์มาจากอินเดียเมื่อราว 2,000 ปีก่อน เอกกสารของลาลูแบร์ จึงมีการบันทึกไว้ถึงความหมายที่เปลี่ยนไปของการลอยกระทงที่เกิดขึ้นในราชสำนักของกรุงศรีอยุธยา ซึ่งให้ความหมายถึงการบูชาพระพุทธเจ้าและเทวดา แต่สำหรับชาวบ้านนั้นก็ยังคงปฏิบัติเช่นเดิม

 

จุดกำเนิดกระทงใบตอง

 

นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่ากระทงใบตองที่นำมาใช้ในพิธีลอยกระทงนั้น มีที่มาจากหนังสือเรื่องนางนพมาศหรือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ที่เชื่อว่ามีผู้แต่งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2-3หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงนางนพมาศ สนมเอกของพระร่วง ที่ได้ประดิษฐ์กระทงใบตองเป็นรูปดอกบัวโกมุท เพราะมีความพิเศษที่บานในเวลากลางคืนเพียงปีละครั้ง จึงสมควรทำเป็นกระทงสักการะพระพุทธเจ้า พระร่วงพอพระราชหฤทัยอย่างมากจึงมีพระราชดำรัสให้กษัตริย์สยามดำเนินพิธีกรรมนี้สืบไป โดยให้ทำโคมลอยเป็นรูปกระทงอย่างไรก็ตามตามหลักฐานประเพณีที่ลอยกระทงด้วยใบตองในช่วงแรกมีเพียงในราชสำนักเท่านั้น ก่อนจะขยายมาสู่คนทั่วไป และจากนั้นประเพณีลอยกระทงก็เปลี่ยนแปลงไปตามสมัยนิยม เช่น มีการจุดพลุและดอกไม้ไฟ การประกวดนางนพมาศ และการประดิษฐ์กระทงจากวัสดุที่หลากหลายไม่ใช่แค่กระทงใบตอง

 

ประเพณีลอยกระทงไม่ได้มีแค่ที่ไทย

 

เชื่อกันว่าประเพณีลอยกระทงเป็นพิธีกรรมร่วมกันของผู้คนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตในพม่ามีเรื่องเล่าว่า ครั้งพระเจ้าอโศกจะสร้างเจดีย์แต่ก็มีพญามารขัดขวาง จึงขอให้พระอรหันต์องค์หนึ่งช่วย ต่อมาพระยานาคเมืองบาดาลเข้าช่วยเหลือ สำหรับชาวพม่า พิธีลอยกระทงจึงถือเป็นการบูชาคุณพญานาคลาวเป็นอีกประเทศหนึ่งที่จัดประเพณี “ไหลเฮือไฟ” หรือลอยกระทงแบบลาวเป็นประจำทุกปี เนื่องจากชาวลาวมีวิถีชีวิตเกี่ยวเนื่องกับแม่น้ำสำคัญอย่างแม่น้ำโขง จนเป็นที่มาของประเพณีต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับน้ำส่วนที่กัมพูชามีการจัดงานลอยกระทงถึง 2 ครั้งต่อปี ซึ่งเป็นเทศกาลรื่นเริงที่มีการแข่งเรือยาวและการแสดงพลุบริเวณทะเลสาบโตนเลสาบประเทศอื่นในเอเชียอย่างอินเดียและจีนก็มีประเพณีที่คล้ายการลอยกระทงเช่นกัน ซึ่งมีที่มาและความเชื่อที่ต่างกันไป แต่โดยส่วนใหญ่ก็เพื่อขอขมา และขอพรให้เทพเจ้าช่วยปกป้องคุ้มครอง

 

บทความที่แนะนำ